ลักษณะของงูกะปะ
หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายเป็นรูปเหมือนหลังคาบ้านอยู่ด้านข้างตลอดลำตัว มีสีเทาอมชมพูลายสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดมีขนาดใหญ่ จะงอยปากงอนขึ้นข้างบน หากินเวลาพลบค่ำและกลางคืน โดยเฉพาะในเวลาที่มีความชื้นในอากาศสูง เช่น หลังฝนตก ชอบอาศัยในดินปนทรายที่มีใบไม้หรือเศษซากไม้ทับถมกันเพื่อซ่อนตัว ด้วยสีสันและลวดลายจึงทำให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม เป็นงูที่ไม่ปราดเปรียว เวลาตกใจจะงอตัวหรือขดนิ่ง แต่ฉกกัดรวดเร็วมาก
จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการบันทึกสถิติคนถูกงูกะปะกัดมากเป็นอันดับที่สองของงูในประเทศไทย
พิษงูกะปะจัดเป็นพวก hemotoxin มีผลต่อระบบเลือด ทำให้เลือดออกมากผิดปกติ เมื่อถูกงูกะปะกัดจึงไม่ความปฐมพยาบาลด้วยการมัดเหนือบาดแผล เพราะอาจทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะนั้นได้ เนื่องจากการคั่งของเลือดส่งผลให้อวัยวะนั้นเสียหายได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ถูกงูกะปะกัด
1. พยายามบีดเอาเลือดบริเวณบาดแผลออกเท่าที่ทำได้ เพื่อขจัดพิษงูออกจากร่างกาย
2. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและฟอกสบู่
3. ใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง เช็ดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
สิ่งที่ไม่ควรทำในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกงูพิษกัด คือ
1.ห้ามใช้เหล้า ยาสีฟัน หรือสิ่งอื่นๆ ทาแผล พอกแผล เนื่องจากอาจทำให้แผลติดเชื้อ
2.ไม่ควรกรีดแผล เนื่องจากจะทำให้พิษงูกระจายเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น
3.ไม่ควรใช้ปากดูดเลือดจากแผลงูกัด เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ดูดได้
4.ห้ามให้ผู้ถูกงูกัดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
5.ห้ามขันชะเนาะเพราะอาจทำให้เนื้อตายได้
พิษของลูกะปะมักแสดงอาการเฉพาะที่ ดังนี้
- อาการปวดมีน้อย
- ภายใน 10 นาทีหลังงูกัด บริเวณรอบแผลจะบวมขึ้นย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง
- รอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลาเพราะพิษมีฤทธิ์ทำลายเม็ดเลือด
- บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมา
- ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า
การรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูกะปะกัด
1. ให้เซรุ่มแก้พิษงูกะปะได้ผลดีมาก ในรายรุนแรงที่มีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ให้เซรุ่ม 20, 30, 40 ม.ล. เข้ากล้ามเข้าหลอดเลือด จะทำให้เลือดกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ถ้ายังมีอาการแสดงทั่วไปอีก ให้ฉีดเซรุ่มซ้ำ หยุดให้เซรุ่มเมื่อ clot retraction time ปกติ
2. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแสดงทั่วไปของพิษงู แต่ที่แผลมีเลือดออก หรือออก ๆ หยุด ๆ โดยเฉพาะแผลที่นิ้วมือนิ้วเท้า น่าจะได้รับเซรุ่ม 10, 20, 30 มิลลิลิตร แล้วแต่ผู้รักษาจะกะปริมาณพิษงูที่เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย
3.ถ้าแผลปกติ อาการแสดงทั่วไปไม่มี ไม่ต้องให้เซรุ่ม
4. ถ้ามี gangrene ทำ Amputation หรือใช้ศัลยกรรมตกแต่ง
หากถูกงูกัดให้โทรแจ้งขอความช่วยเหลือ1669ตลอด 24 ชั่วโมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น