วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

นกอีเสือหลังแดง Burmese Shrike

นกอีเสือหลังแดง Burmese Shrike ณ ทุ่งใหญ่ นเรศวร จ.กาญจบุรี ผืนป่าตะวันตก แผ่นเดียวกับผืนป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานีค่ะ

นกอีเสือมีหลายพันธุ์ ทั้ง อีเสือลายเสือ อีเสือสีน้ำตาล อีเสือหลังแดง อีเสือหลังเทา อีเสือหัวดำ เป็นทั้งนกประจำถิ่น นกอพยบ และนกอพยบผ่าน พบได้เกือบทั่วประเทศของไทย 

นกอีเสือที่พบมากที่สุด คือ นกอีเสือสีน้ำตาล เป็นนกอพยบไปทั่วทุกภาคในประเทศไทย แต่ในวันนี้เราจะมากล่าวถึง นกอีเสือหลังแดง หรือ ที่เรียกว่า Burmese Shrike เป็นนกอพยบ ที่พบทางภาคเหนือ ตะวันตก ตะวันออก แต่ไม่พบในภาคใต้ โดยจะพบได้ทั่วบริเวณ ป่าติดกับพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่การเกษตร ที่ราบถึงความสูง 1800 เมตร พบได้ค่อนข้างบ่อยในบางพื้นที่ เป็นนกประจำถื่น แต่บางพื้นที่เป็นนกอพยบ ในประเทศไทย

นกอีเสือหลังแดง Burmese Shrike มีลักษณะ หัวเทาเข้ม หน้าผากและแถบคาดตาสีดำ ข้างคอ คอ และลำตัวด้านล่างขาว หลังมีสีน้ำตาลแดง ปีกสีน้ำตาลเข้ม มีจุดขาวเห็นชัดเจน ตัวเมีย สีจางกว่าตัวผู้ หัวตาขาว ข้างลำตัวสีน้ำตาลแกมเหลือง 

เรามาชมภาพนกอีเสือหลังแดง กันดีกว่านะค่ะ







หากสนใจไปเดินดูนก แนะนำลองดิดต่อไปที่สมาคมอนุรักษ์นกและสิ่งแวดล้อม เบอร์โทร 086-3766824
ขอบคุณภาพ และข้อมูลดี ๆ จาก คุณตู๋ บ้านรักษ์สุขภาพค่ะ

-->

ไม่มีความคิดเห็น: