วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

ทำเลเต้นท์ทำเหตุ



ถ้าใครชอบแบกเป้ เดินทาง ตั้งแคมป์ คงได้พบประสบการณ์แบบนี้บ้างไม่มากก็น้อย.............. ปวดหลัง นอนหลับไม่สบาย หินทิ่มหลังตอนนอน น้ำค้างหยดจากเต้นท์ กิ่งไม้หล่นใส่เต้นท์ ทำท่วมเต้นท์ จะเคยมีประสบการณ์หรือไม่ก็ลองมาอ่านประสบการณ์นี้ดูนะค่ะ

ประสบการณ์แรกจากทริปเชียงใหม่ หน้าฝน

ณ อุทยานแห่งชาติออบหลวง หน้าฝนที่ลำน้ำไหลผ่านห้วยออบหลวงเป็นสีขุ่นเหมือนโคลน มีหาดทราย(แต่ไม่ขาว ไม่ละเอียด) อยู่ริมแหล่งน้ำ กลางวันน้ำลง กลางคืนน้ำขึ้น กฏธรรมชาติ รู้ก็รู้ แต่คิดว่าก็น่าจะเป็นเฉพาะทะเล (คิดได้ไงไม่รู้) กางเต้นท์ริมน้ำ ได้บรรยากาศสุด ๆ คืนนั้นเหนื่อยมาก ๆ นอนหลับเป็นตาย จนเพื่อนมาเขย่า ยังไม่อยากตื่น "ตื่น ๆ น้ำท่วมเต้นท์แล้ว ยกเต้นท์หนีเถอะ" เฮ้อ....เต้นท์เปียกเลย กระเป๋าก็เปียก ไงเนี่ย ออ...น้ำขึ้นจ้า..............(กฏข้อแรก ห้ามกางเต้นท์ติดริมน้ำมากเกินไป อาจเกิดเหตุการณ์นี้ได้)

ประสบการที่สองจากทริปพิษณุโลก หน้าหนาว

ณ อช. ทุ่งแสลงหลวง หน้าหนาว ทิวทุ่งต้นสนสูงตะหง่าน แหงนคอมองความงาม จนเมื่อย ลำต้นสีดำทะมึน ใบสนแหลม เรียวสีเขียวเข้ม ตัดกับพื้นดินที่ถูกปูพรมด้วยใบสนแห้งสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเหลือง

งามสุดบรรยาย หายเหนื่อยจากการนั่งรถโบกมาทั้งวัน ทริปนี้กางเต้นท์ในป่าต้นสน เจ้าหน้าที่จัดที่กางเต้นท์เป็นลานกว้างไว้ให้ ไม่อ้าวววววววววววววววว เราจะเอาใต้ต้นสน ...... ได้จุดดีใต้ต้นสน 2 ต้นขนาบข้างเต้นท์ คืนนี้ นอนไม่หลับทั้งคืน เพราะว่า....ใบสนเอย กิ่งสนเอย ลูกสนเอย ตกใส่เต้นท์ ดังทั้งคืน ยังไม่พอ รากต้นสนใต้เต้นท์เราซิ ทำเอาเราเจ็บหลัง ปวดหลัง ไปทั้งวัน......... โทษฐานดื้อ ไม่เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ (กฏข้อ 2 และข้อ 3 คือ ต้องเชื่อฟังเจ้าหน้าที่ กางเต้นท์ในจุดที่ให้กาง และไม่ควรกางเต้นท์ใต้ต้นไม้ เพราะอาจเกิดอันตราย และปวดหลังได้ สำคัญนะเนี่ย)



เล่าแค่ 2 ประสบการณ์ พอเป็นน้ำจิ้ม เอาเป็นว่าขอแนะนำเคล็ดลับในการตั้งเต้นท์เลยแล้วกัน

หากเราต้องเข้าไปเที่ยวในป่า การตั้งแค้มป์ดูจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคงไม่มีใครมาสร้างบ้านพักให้เรากลางป่ากลางเขา แต่จะเลือกพักตรงไหนเป็นเรื่องที่สำคัญก หากเราเลือกไม่ดีไม่เหลมาะสมก็อาจทำให้การพักผ่อนไม่สบายเท่าที่ควร หรืออาจจะเกิดอันตรายได้

ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาสถานที่ตั้งแค้มป์ให้ดี โดยอาจจะมีหลักง่าย ๆ ดังนี้
1. กำหนดสถานที่ที่จะไปล่วงหน้า พร้อมศึกษาข้อมูลของสถานที่นั้น ๆ อย่างละเอียด
2. ควรมีการตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง สภาพดินฟ้าอากาศ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวได้ถูกต้อง
3. ควรฝึกกางเต็นท์ให้คล่องเสียก่อนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตั้งแค้มป์
4. สอบถามข้อมูลของสาถนทที่ที่จะตั้งแคมป์จากเจ้าหน้าที่หรือชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นว่าปลอดภัยดีหรือไม่ 5. ต้องมีการแบ่งงานกันเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการทำงานต่าง ๆ
6. ควารกางเต็นท์ก่อนพระอาทิตย์ตกดินอย่างน้อย 2 ชั่วโมง (ประมาณบ่าย 4 โมงเย็นก็ควรเริ่มหาทำเลที่ตั้งแค้มป์ได้แล้ว)
7. ควรสังเกตว่าบริเวณนั้นเป็น “ด่านสัตว์” หรือไม่โดยสังเกตจากจะมีรอยเท้าสัตว์เหยียบย่ำไปมาในบริเวณนั้น หากพบว่าเป็นด่านสัตว์ควรหลีกเลี่ยงให้ไกลเพราะอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ได้

การกางเต็นท์ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เราจะหลับสบายหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกพื้นที่กางเต็นท์ของเรา ซึ่งควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ก่อนเลือกทำเลกางเต็นท์
1. คำนวณความลาดชันของพื้น หากต้องนอนในที่ลาดชันมาก ก็อาจจะทำให้เราปวดหลังได้ แต่ถ้าหากเหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็ควรนอนให้หัวอยู่สูงกว่าเท้า กันเลือดตกหัว
2. ตรวจสอบสภาพพื้นดินก่อนกางเต็นท์ พื้นของเต็นท์เป็นเพียงผ้า หากเรานอนในที่ทพื้นไม่เรียบขรุขระ หรือแข็งเกินไปก็อาจทำให้การนอนไม่มีความสุข แต่ถ้าหากเป็นพื้นที่เรียบโดยเฉพาะบนพื้นหญ้าก็จะนุ่มหลับได้อย่างสบาย และหากเรามีแผ่นรองนอนก็จะช่วยได้มากยิ่งขี้น
3. ตรวจสอบสภาพด้านบนของจุดกางเต็นท์ ไม่ควรกางใต้ต้นไม้ หรือใต้ผาชัน เพราะอาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขณะหลับเพลิน ๆ ได้ เช่น กิ่งไม้หล่นใส่ หรือดินจากผ่าถล่มลงมาได้
4. กางเต็นท์ให้พ้นจากพวกแมลง ก่อนเรากางเต็ฯท์ควรตรวจสอบให้ดีว่าไม่ได้กางทับรังมดแดง หรือบริเวณที่มียุงชุกชุม
5. ตรวจสอบทิศทางน้ำ หากเราไปตั้งแค้มป์หน้าฝน เราควรดูว่าจุดที่เรานอนไม่ได้เป็นทางน้ำไหลผ่านหรือเราอาจจะมีวิธีป้องกันโดยการขุดร่องรอบ ๆ เต็นท์
6. ตรวจสอบผู้คนที่ตั้งแค้มป์อยู่รอบ ๆ สำหรับจุดพักแรมตามสถานที่ที่คนมาก ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกแค้มป์คาร์ที่จอดรถแล้วถึง บริเวณเหล่านี้จะมีคนมาก ควสรหลีกเลี่ยงทำเลที่อยู่ใกล้กับกลุ่มคนมาก ๆ หรือ พวกที่ชอบกินเหล้า เพราะคนเหล่านี้มักจะส่งเสียงดัง อาจจะทำให้เรานอนไม่หลับ ซึ่งการพักแรมเราไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นหลัง 22.00 น.

ไม่มีความคิดเห็น: