วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

นกกระจอกชวา แห่งทุ่งบางเขน ม.เกษตรศาสตร์

นกกระจอกชวา Java Sparrow
Lonchura oryzivora


หัวดำ แก้มขาว ปากสีชมพูสด วงรอบตาแดง ขนลำตัวสีเทา ท้องด้านล่างชมพู ก้นขาว ตะโพกและหางดำ ปลายหางแฉก แข้งและตีนแดง 

อดีตเป็นนกที่นำเข้ามาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม และหลุดสู่ธรรมชาติ แต่สามารถอาศัยและขยายพันธุ์ได้ จึงกลายเป็นนกในเมืองไทย พบได้ค่อนข้างบ่อยในบางพื้นที่
ซึ่งในกรุงเทพ มีรายการการพบนกกระจอกชวา ดังนี้ ทุ่งข้าวบางเขน ม.เกษตรศาสตร์ ทุ่งข้าวแถวลำสาลี รังสิต  ด้านหลังโรงพยาบาลภูมิพล สะพานใหม่ เป็นต้น

อาหารของนกกระจอกชวาได้แก่ เมล็ดข้าวเปลือกในนาข้าวที่กำลังสุก นอกจากนั้น ยังกินธัญพืช เมล็ดหญ้า แมลง และตัวหนอนด้วย

พื้นเพถิ่นฐานเดิมของนกกระจอกชวา คือ เกาะชวา และ บาหลี เป็นหนึ่งในนกสีสวยของอินโดนีเซียที่ถูกกวาดดักจับ เพื่อส่งออกเป็นนกเลี้ยงกรงไปตามประเทศต่าง ๆ จนจำนวนประชากรนกในท้องถิ่นเดิมลดจำนวนลงอย่างมาก จากนกที่พบบ่อยมาก กลายเป็นสถานะนกที่พบค่อนข้างยาก ถึงขั้นที่หน่วยงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของอินโดนีเซียต้องเริ่มฟื้นฟูสถานภาพและสวัสดิภาพของนก ด้วยการเพาะพันธุ์และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ปัจจุบัน นกกระจอกชวา ถูกบรรจุเป็นหนึ่งในนกไทย ในหนังสือ นกเมืองไทย คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เมืองไทยได้มีนกน่ารัก ๆ มาให้เราได้ชื่นชมกันค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น: