วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ธุดงค์กรรมฐาน ณ ป่าธรรมสาวิกา อาศรมมาตา ปักธงชัย โคราช

ขอเริ่มต้น ด้วยกลอนจากคุณแม่เล็ก ท.ทท ๒๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ เป็นบทกลอนบทหนึ่ง มีใจความว่า....

วันดี คือ วันที่มีลมหายใจ  (จริงมั๊ย...)

วันไหนก็ดีทั้งนั้น 
ถ้าเป็นวันขยันทำความดี
เช้าสายบ่ายเย็นเพียรทุกนาที
เวลาไหนก็มีสติที่รู้จับลม
จะยืนเดินนอนนั่งระวังจิต
ให้แนบสนิทภายในไม่ขำคม 
หายใจเข้าออกดอกที่เหมาะสม 
ดีที่ยังมีลมหายใจไม่ตาย....

 ครั้งแรกที่ได้อ่าน....รู้สึกว่า ดีจริงนะ ที่ยังมีชีวิต มีลมหายใจ ได้มาฝึกสติ ทำให้เราพบ... คำตอบที่อยู่ในใจเรามากมาย...คุณเองก็...รู้ได้......(จริง ๆ นะ)

เริ่มต้นก็ลึก ก็ซื้ง กันเสียแล้ว ก่อนจะนอกเรื่องไปมากกว่านี้ ขอกลับเข้ามาเรื่อง ธุดงค์กรรมฐานของเหล่าหญิงที่มีใจใฝ่ทางธรรมกันเสียก่อน ออกไปนอกเรื่อง...

ธุดงค์กรรมฐาน ๔ วัน ๓ คืน สำหรับผู้หญิง มีการฟังธรรมะ ฝึกการวิปัสสนากรรมฐาน การปักกลด เดินธุดงค์ รับบิณฑบาตร ในเขตป่าธรรมสาวิกา ณ อาศรมมาตา โดยมีพระอาจารย์ ครรชิต อภิญจโน เป็นวิทยากร และมีวิทยากรรับเชิญ พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ (ตารางการปฏิบัติธรรมครั้งต่อไปดูที่นี้)

ครั้งนี้เราไม่ได้ไปร่วมปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานแบบเต็มตัว แต่ไปในฐานะของช่างภาพทีมงาน ธรรมะบริกร ที่จะประสานงาน จัดสถานที่ และทำการเก็บภาพบรรยากาศ เพื่อจัดทำ presentation แนะนำอาศรมมาตา (ใครมีความรู้ความสามารถ และอยากช่วยติดต่อมาได้ที่ tusora@hotmail.com อยากได้คนตัดต่อ VDO เป็น, คนแต่งภาพเป็น และอื่น ๆ งานนี้ช่วยด้วยใจล้วน ๆ ขอเหล่านักธรรมมาร่วมทำงานธรรมเพื่อธรรมะ ต้องการด่วนบทความเก่าของอาศรมมาตาอ่านได้ที่นี้

ก่อนจะเข้าไปถึงภาพบรรยากาศต่าง ๆ ที่เก็บมาฝาก ขอแนะนำ ป่าธรรมสาวิกา เขต 4 ของอาศรมมาตา กันเสียหน่อย ....


ป่าธรรมสาวิกา เป็นที่ปฏิบัติธรรม เขต 4 ของอาศรมมาตา มีเนื้อที่ประมาณ ๓๙ ไร่ ล้อมรอบด้วยป่าไม้เบ็ญจพันธ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่อันอุดมสมบูรณ์ สวยงาม และเป็นเสมือนรั้วธรรมชาติของเขต ๔ มีการปลูกไม้ป่านานาพันธ์เพิ่มเติม ประมาณ ๓,๐๐๐ ต้น และยังปลูกผลไม้ต่างๆ เช่น มะม่วง,ขนุน, มะไฟ, กล้วย และอื่น ๆ มีกุฏิกรรมฐานที่มีทางเดินจงกรมภายในกุฏิ 
โดยเขตนี้ คุณแม่เล็ก ท่านมีจุดมุ่งหมายไว้ดังนี้....
เขตนี้ค่ะ ชื่อธรรมสาวิกา
สำหรับฝึกคนกล้าทวนกระแส
ไหนไหนต้องเน่าเข้าโลงแน่
มาพิสูจน์ของแท้กันสักที
ก็ตายเสียก่อนตายที่หมายมั่น
ให้เห็นกันที่นี่และเดี่ยวนี้
วัฎสงสารมีนิพพานต้องมี
เป็นสิ่งที่บรรลุได้ในใจคน
กามกินเกียรติโกรธกลัวตัวหยาบหยาบ
ต้องกำหราบให้มันม้วยด้วยฝึกฝน
สร้างตบะพละห้ากล้าอดทน
ผู้หวังผลต้องเพียรแม้เจียนตาย
สติปัฏฐานทางเดียวเคี่ยวให้ข้น
จนเกิดผลวางว่างอุปาทานหาย
หมดยึดมั่นถือมั่นทั้งใจกาย
หมดการเกิดการตายอีกต่อไป
ไม่เหลือความพอใจไม่พอใจในโลกนี้
ไม่มีความยินดีไม่ยินดีในโลกไหน
ไม่ต้องการเกิดระหว่างโลกใดใด
โลกภายในใจไร้ทุกข์สุขนิรันดร์
ท.ทท. ประพันธ์ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘

ภายในเขตนี้ มีศาลาไกรวัลย์ สำหรับฟังธรรม มีครัวโดดเดี่ยว สำหรับพักดื่มน้ำปานะ มีผลาญหินสิ้นกิเลส สำหรับเดินธุดงค์ไปฟังธรรมะ


วันแรกของการเดินทางมาถึง ของเหล่าผู้เข้าธุดงส์กรรมฐาน ต้องมาลงทะเบียน โดยมีอาวินนา เป็นผู้รับลงทะเบียน (ผู้ร่วมก่อตั้งอาศรมมาตา) ฝากสิ่งของ เงินทอง นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ และอื่น ๆ ไว้ ณ จุดลงทะเบียนกันก่อน จากนั้นก็ไปพบหัวหน้ากลุ่ม และเดินทางไปยังศาลาไกวัลย์เพื่อทำพิธีน้อมจิตรับกลด บาติ และบริขารทั้งหมด


จากนั้นก็ต้องไปลงมือกางกลดตามสถานที่ที่จัดไว้ให้ หรือใครชอบใจตรงไหนก็ตามสบาย  เมื่อเรียบร้อยแล้ว เปลี่ยนเครื่องแต่งกาย เข้าสู่พิธีปฐมนิเทศน์จากพระอาจารย์วิทยากรทั้งสอง และคุณแม่เล็ก แล้วตัวเราเองก็แอบประทับใจ บทปลงสังขารของทางอาศรมมาตา ที่คุณแม่เล็กแต่งเองอีกแล้ว... (เสียดายมีวีดีโอเสียงคุณแม่ด้วย แต่เอาลงไม่ได้ อดฟังกันเลย เลยเขียนบทเล็ก ๆ มาให้อ่านกันก่อนแล้วกัน อยากให้ฟังเสียง จริง ได้ความรู้สึกจริง แต่ต้องไป ฟังที่อาศรมมาตานะค่ะ)






ที่พึ่งแท้จริง (บทแรก)

ก่อนกายนี้มันจะเน่า ขอให้เราจงมีที่พึ่ง จิตน้อมนำพระธรรมสุดซื้ง แล้วจึงหลับตาอำลาโลกเอย

บอกไว้ก่อน อ่านแค่นี้ ไม่ลึก ไม่ซึ้ง เท่าคุณฟังเอง สัมผัสเอง.... ประมาณว่า เสียงคุณแม่เสียบรูหูทะลุกลางใจเลยแหละ.... อยากให้ฟังจริง ๆ นะ.

จากนั้นก็ฟังธรรมะจากพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ ท่านเทศน์ธรรมะได้สนุกสนาน มีนิทาน เรื่องเล่า ที่ให้เราติดตามได้ตลอดไม่เบื่อ และสไตส์การเทศน์แบบ ปุจฉา - วิสัชนา (ถาม - ตอบ) Hello อยู่ไหม ไม่น่าเบื่อเลย สนุกมาก สำหรับคนรุ่นใหม่ ข้อคิดดี ๆ ที่ได้จากพระอาจารย์ตลอด 3 วัน ที่จำได้ และจะนำไปปฏิบัติ ก็คือ

1. เรื่องส้มตำ ..... (ไม่เล่า ให้ฟังหรอก ไว้ไปฟังท่านเอง)  แต่ว่า ได้ฟังแล้ว คุณได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กับคนที่คุณรักแน่นอน.. อิอิ...
2. เรื่องคำมั่นว่า เราจะไม่ทะเลาะกัน หากทะเลาะกันให้กระซิบเบา ๆ ...
3. เรื่อง ความคิด พัฒนาการเป็น การกระทำ  การกระทำ พัฒนาเป็น ความเคยชิน ความเคยชิน พัฒนาเป็นนิสัย นิสัยพัฒนาเป็น สันดาน.... (หากจะแก้สันดาน ต้องแก้ที่..... คิดเอาเอง  หากจะแก้กรรม ต้องแก้ที่... คิดเอาเอง)
4. เรื่องนกฮูก ฉายานักปราชญ์ (หูตั้ง ตาโต ปากแหลม คอหมุน... มีความหมายนะ ใครตอบได้ ไปรับรางวัลเป็นเสื้อลายนกฮูก รู้นอก...ปลอดภัย รู้ใน...ไม่ทุกข์ ที่วัดพระอาจารย์เองนะ)
และอีกหลาย ๆ ข้อคิด ที่ท่านจะได้อีกมากมาย ตามแต่จิตจะน้อมรับพระธรรมคำสั่งสอนจ้า....

เมื่อฟังธรรมะจบ พระอาจารย์ครรชิต อภิญจโน ก็ได้ให้แนวทางในการทำวิปัสสนากรรมฐาน การตั้งฐานจิต การฝึกการรับรู้ ฝึกกายสร้างฐานจิตให้เกิดจิตผู้รู้ แนวทางสั้น ๆ ได้ใจความ ก็คือ การรู้แบบซื่อ ๆ รู้ที่ละครั้ง ที่ละครั้ง รู้แล้วจบ ไม่ต้องไปปรุงแต่งอารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด พระอาจารย์ครรชิต ฝึกให้เราเคลื่นไหวมือแบบ 14 ท่า (คนที่เคยฝึก คงเข้าใจ เราอธิบายคงจะยาวไป อยากเราวีดีโอที่ถ่ายให้ดู แต่ก็ไม่สามารถอ่ะ) ข้อคิดดี ๆ ระหว่างเดินธุดงค์กรรมฐานที่ท่านได้สั่งสอนไว้ คือ

1. รับรู้แบบซื่อ ๆ ที่ละครั้ง ที่ละครั้ง ครั้งเดียวจบ ไม่ต้องรู้ตลอดการเคลื่อนไหว เอาแค่รู้เมื่อมีการกระทบเท่านั้น ครั้งแรกงงมากเลยค่ะ แต่พอได้ปฏิบัติไปก็รู้สึกเข้าใจ และเริ่มเข้าใจคำว่า รู้ที่ละครั้ง จับที่ละความรู้สึก รู้สึกแล้วจบ รู้สึกแล้วจบ ไปที่ละครั้ง ที่ละครั้ง ต่อไปจะใช้การจับความรู้สึกนี้ในชีวิตประจำวัน อยู่ที่ไหนก็ฝึกได้แล้วค่ะ
2. เรื่องเล่าจากผู้ป่วยมะเร็งปอด กายเราป่วย แต่จิตไม่ได้ป่วยไปด้วย ความรู้สึกเจ็บที่กายหากนำจิตไปจดจ่ออยู่ที่ความเจ็บความเจ็บน้ันจะมากขึ้น ก่อให้เกิดความกลัวความเจ็บและทำให้เราเจ็บมากจนขาดสติ แต่หากเราส่งจิตไปอยู่ที่อื่น ก็สามารถรับรู้ความเจ็บแบบซื่อ ๆ รู้ว่ามีเจ็บ มีหายเจ็บ มีเจ็บมาก มีเจ็บน้อย จนเข้าใจความเป็นธรรมดา ความไม่เที่ยงของมัน จะเห็นถึงการเกิดความเจ็บ การหายไปของความเจ็บ เป็นทีละครั้ง ทีละครั้ง เรื่องเล่าอันนี้ก็ประทับใจมาก ๆ ค่ะ (ไม่เล่าต่อ ไว้ให้ไปฟังพระอาจารย์กันเอาเอง..ค่ะ...)
3. การฝึกจิต ควรมีที่มั่น การฝึกดูกาย แล้วดูจิต จะทำให้จิตมีฐานที่ตั้งมั่นได้ดี การปฏิบัติสมถะสมาธิก็มีความสำคัญ ทำให้เรามีฐานที่มั่นในการฝึกจิต ได้ง่ายขึ้น 
และอีกหลาย ๆ เรื่อง ที่พระอาจารย์ท่านยกตัวอย่างในเรื่อง สติ การมีสติ การเจริญสติ เพื่อรับรู้ ให้มีสติตั้งมั่น แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติในชีวิตประจำวัน การฝึกจิต จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำวิปัสสนากรรมฐาน

งานนี้ จิตจดจ่อไปกับการถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอไปหน่อย เลยเล่าได้เล็ก ๆ น้อย ๆ แบบพอเป็นน้ำจิ้มให้คนอยากไปเจอะเองมากกว่า ประสบการณ์จริง ที่คุณจะได้สัมผัสเอง ครั้งแรกของการนอนกลด ครั้งแรกของการเดินธุดงค์ ครั้งแรกของการบิณฑบาตร ครั้งแรกของการกินข้าวในบาตร ครั้งแรก... อีกมากมาย ที่คุณสัมผัสได้จริง และคุณจะได้บันทึกเอาไว้เป็นไดอารี่ของคุณ ไว้ให้เล่าให้ลูกหลานต่อไปเลยจ้า........ ดังนั้น เอาเป็นว่า มาดูภาพกันดีกว่า ภาพที่คุณจะได้เห็นต่อไปนี้ เป็นภาพที่ถ่ายมาเอง ล้วน ๆ สด ๆ ร้อน ๆ ไม่ผ่านการปรุงแต่ง แต่นำมาจัดวาง ทุกภาพทุกมุม คุณจะเห็นได้ที่อาศรมมาตา แห่งนี้ เพียงคุณเปิดตายอมรับ เปิดใจเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้จิตคุณเอง

ฝีมือกางกลดครั้งแรก ของคุณหรือเปล่า...

ครั้งแรกของฟังธรรมะ เดินบิณฑบาตรใช่ไหม...
ต้นไทร ต้นโพธิ คือ ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าเลือกแล้ว และวิทยาศาสตร์พบว่า เป็นต้นไม้ที่ให้ออกซิเจนตลอด 24 ชั่วโมง.... คุณเชื่อหรือไม่....

ครั้งแรก... ของการเดินธุดงด์ของคุณหรอ....
บรรยากาศในเขตแดนธรรม... อาศรมมาตา...

ธรรมชาติ สอนอะไรให้คุณ........

ให้ดูแค่นี่ก่อนนะ ไว้อยากดู ไปดูเองที่อาศรมมาตานะจ๊ะ











พรที่ดีเลิศ (บทส่งท้าย)

ขอให้พรนี้แด่คุณ 
ถึงโลกเวียนหมุน ขออย่าให้คุณเวียนว่าย 
บรรจุถ้อยคำลึกซึ้ง ซึ่งกลั่นมาจากความตาย 
เป็นชาติสุดท้ายของคุณ
ท.ทท แม่เล็ก
โปรดติดตาม ตอนต่อไป ถ้ามีแรงเขียนต่อนะ....

ลืม ฝากหนังสือ อมตวลี Verses of Eternal Truth ของพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ ด้วยนะค่ะ เป็นสองภาษา (ไทย อังกฤษ) 




แด่พุทธสาวิกายอดนักรบ

กี่ล้านก้าวที่เหยียบย่างอยู่อย่างนี้
กี่สิบปีที่ย่างเหยียบอยู่อย่างเก่า
สร้างสติสัมปชัญญะให้จิตเรา
จนเห็นความไม่น่าเอาไม่น่าเป็น
มีแต่เกิดแล้วดับสลับเปลี่ยน
ทุกข์เท่านั้นที่เวียนมาให้เห็น
ทั้งกายจิตทุกขสัจจ์เห็นชัดเจน
ตามกฏเกณฑ์ไตรลักษณ์ประจักษ์ใจ
ก็จะหวังยึดอะไรสิ่งไม่เที่ยง
ทั้งนามรูปเป็นเพียงเครื่องอาศัย
ระลึกรู้เพื่อละวางว่างภายใน
เห็นอะไรสักแต่ว่ามายาลวง
ทุกข์ทางกายยังอยู่รู้เฉยเฉย
ใจที่เคยฝึกไว้ดีไม่มีห่วง
วิชชาเกิดประเสริฐกว่าค่าทั้งปวง 
ทำให้ล่วงทุกข์ได้ในชาตินี้

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี


ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "
คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ.2225
สิริรวมอายุได้ 99 ปี

คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

ธรรมประจำใจ

พูดมาก เสียมาก   พูดน้อย เสียน้อย 
  ไม่พูด ไม่เสีย   นิ่งเสีย โพธิสัตว์
ละได้ย่อมสงบ

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ

สันดาน

ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได

แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง 
ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

ชีวิตทุกข์

การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ 
จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ
จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ 
เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ
เมื่อเราจะออกจากบ้าน
ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ 
นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย

บรรเทาทุกข์

การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น
เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม
 เราต้องเป็นตัวของเราเอง
และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า
 สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
ยากกว่าการเกิด

ในการที่เราเกิดมา  ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย  แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก 
เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

ไม่สิ้นสุด

แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด 
กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

ยึดจึงเดือดร้อน

ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่
ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ
 โดยไม่คำนึงถึงธรรมสากล
จักรวาลโลกมนุษยนี้
 ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก
สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม 
ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน 
 เกิดการฆ่าฟันกัน
เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ 
 ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า
สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

อยู่ให้สบาย

ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น
เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด
  อยู่กันอย่างไม่ยินดี  อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย
อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์
เหนือคำสรรเสริญ 
 เหนือนินทา  เหนือความผิดหวัง  เหนือความสำเร็จ  เหนือรัก เหนือชัง
ธรรมารมณ์

การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์ คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง
อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือ
 รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ
ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน
  เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆ แล้ว
ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส
  เสียใจน้อยใจ  เป็นทุกข์
กรรม

ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า
เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว
ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์
  มีความรื่นเริง
มารยาทของผู้เป็นใหญ่

ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน 
 ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง
มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก
คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ

โลกิยะ
 หรือ โลกุตระ
คนที่เดินทางโลกุตระ 
 ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ 
คนที่เดินทางโลกิยะ
  ย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก  เพราะอะไร ?
ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว 
ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า 
?
ถ้าเป็นไปได้ 
 พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ?
แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน
เราต้องตัดสินใจ 
 ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง
ศิษย์แท้

พิจารณากายในกาย 
 พิจารณาธรรมในธรรม  พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ
นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

รู้ซึ้ง

ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ
  เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล  ผลนั้นเกิดจากเหตุ 
เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว 
 เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา
ใจสำคัญ

การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์
จะต้องทำด้วยความศรัทธา
ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้นเกินความคาดหมาย

หยุดพิจารณา

คนเรานี้  ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว
  จิตมันจะฟุ้งซ่าน
และถ้าภาวะนั้น
  ตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือ หยุดพิจารณา
แล้วค้นสัจจะของ 
 ศีล  สมาธิ  ปัญญา   ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้
บริจาค

ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ 
 จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอก
การสวดมนต์เป็นการภาวนา 
 การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน
เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ
การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอก
นี่คือเรื่องของนามธรรม

ทำด้วยใจสงบ

เราจะทำบุญก็ดี 
 เราจะทำอะไรก็ดี  จงทำด้วยความสงบ
อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น
  มันจะพาเราไปสู่หายนะ
เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน 
 เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  จงอย่าทำ
นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน 
 เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด
เมื่อเกิดปัญญาแล้ว 
 จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก
มีสติพร้อม

จะทำสิ่งใดก็ตาม 
 เราต้องมีสติพร้อม
คือ อย่าให้มีโทสะ 
 อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ 
อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผล
 มาอยู่เหนือความจริง 
เตือนมนุษย์

มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว   มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีง านทำในไม่ช้า 
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว   มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก   มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า

พิจารณาตัวเอง

คืนหนึ่งก็ดี
  วันหนึ่งก็ดี  ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร 
ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ
 ว่า  ที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร 
คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง
  คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น 
เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ 
 มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด  ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง
คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของหลวงปู่ทวด

ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม