วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นกตะขาบทุ่ง ณ พุทธมณฑล

นกสีน้ำเงิน เป็นนกที่มีความเชื่อของชาวญี่ปุ่นว่า เป็นนกนำโชค ใครที่เคยพบน้ำสีน้ำเงิน ตัวโต บินผ่านไป คงต้องสงสัยว่า เป็นนกอะไรกันหนอ แล้วเจ้านกสีน้ำเงินนี้ เป็นนกนำโชคจริงไหม เวลาเจอะในแต่ละครั้ง ก็ทำให้เรารู้สึกดีใจ ยินดี ว่าวันนี้คงโชคดี ซึ่งเป็นความเชื่อที่เราเองก็เข้าข้างตัวเองไปเองนะแหละ
พอมาวันนี้ เริ่มต้นดูนก ศึกษานกพันธุ์ต่าง ๆ มากขึ้น และได้มาถ่ายรูปนก เจ้านกสีน้ำเงิน ตัวโตนี้ ก็เป็นเป้าหมายในการถ่ายรูปเช่นกัน เมื่อได้รูปถ่ายมาแล้ว ก็ค้นหาว่าเป็นนกอะไร ...

ในที่สุด เราก็ได้รู้จักนามของเจ้านกสีน้ำเงินนี้จนได้ "นกตะขาบทุ่ง"

นกตะขาบทุ่ง  Indian Roller
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Coracias benghalensis

ที่มาของชื่อนกตะขาบทุ่ง อาจมาจาก การที่มันกินตะขาบ และพบวิ่งวอน โฉบเฉียวอยู่ในทุ่ง หรือคำว่า ขาบ อาจมาจากสีโทนน้ำเงิน หรือสีร้องที่แหบ ๆ ของมัน ก็มิอาจทราบแน่ชัด

ลักษณะทั่วไป
     นกตะขาบทุ่งเป็นนกขนาดกลาง มีขนาดลำตัวประมาณ 33 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนบนกระหม่อมมีสีเขียวแกมฟ้า เหลือง และน้ำตาล บริเวณคอ ไหล่ อก และหลังเป็นสีน้ำตาลแกมเขียว ปีกสีน้ำเงินแกมม่วง หางมีสีฟ้าคาดด้วยแถบสีน้ำเงิน บริเวณใต้ท้องและปีกเมื่อบินจะเห็นสีฟ้าสดแกมเขียว ปากหนาเรียวปลายแหลม และคอสั้น เป็นนกที่ชอบวิ่งผาดโหดทะยานขึ้นฟ้า ฉวัดเฉวียน เรียกร้องความสนใจ และน่าชมมากที่เดียว

ภาพนกตะขาบทุ่งชุดนี้ ถ่ายจากสวนพุทธมณฑลสาย 4 ณ สวนสมุนไพร เห็นนกสีน้ำเงินตัวใหญ่ บินโฉบรอนไปมา แล้วก็มาเกาะที่ต้นไม้เตี้ย ๆ ไม่ไกลพอดี จึงได้เก็บภาพมาฝาก
ภาพนี้เป็นนกตะขาบทุ่งที่เกาะพักเหนื่อยอยู่บนกิ่งไม้

ภาพนี้ก็เป็นนกตะขาบทุ่งอีกตัว ที่เกาะอยู่ เห็นด้านหลัง

ภาพนี้ เราเดินมาถ่าย ด้านข้าง ๆ มัน กลัวมันรู้ตัว

อันนี้เป็นตัวเดิมที่รู้ตัว แล้วบินหนีไปเกาะบนตัวไม้อีกต้น แต่เราก็ยังตามไปถ่ายอยู่ เพราะบินไปไม่ไกล

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     นกตะขาบทุ่ง พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน อินโดจีน และในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางตอนใต้ของภาคใต้ พบได้ที่ความสูงมากว่าหรือประมาณ 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล
     นกตะขาบทุ่ง กินทั้งแมลง หนอน ไส้เดือน ลูกกบ เขียด สัตว์เลือยคลาน และสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     ชอบอาศัยตามท้องนา ทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง และบริเวณใกล้แหล่งกสิกรรม หรือหมู่บ้าน มักหากินอยู่ตามลำพัง แต่อยู่เป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ชอบเกาะอยู่นิ่งบนกิ่งไม้ และลงหากินตามพื้นดิน ชอบร้องเสียงดัง "ต้า ต้า"
     นกตะขาบทุ่งผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำรังบนต้นไม้บริเวณโพรงไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในบางครั้งจะแย่งรังหรือโพรงเก่าของนกอื่นเพื่อวางไข่ ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 2-5 ฟอง

สถานภาพปัจจุบัน
     เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้บ่อยมากทั่วประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

สถานที่ชม
     นกตะขาบทุ่งสามารถพบในตามสวนสาธารณะในเมือง ชานเมือง ทุ่งโล่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ชายป่า เรียกได้ว่ามีเจ้านี่อยู่ในทุกที่ทั่วไทยที่ป่าไม่หนาทึบจนเกินไป และระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร

นกตะขาบทุ่ง เป็นนกที่พบได้บ่อยในประเทศไทย เราจะเห็นบินโฉบผ่านไป ปีกสีน้ำเงินสวย สะท้อนแสงเป็นเงามาก ๆ เห็นครั้งแรกในสมัยที่อยู่เชียงใหม่ เราเรียกว่า นกนำโชค วันไหนได้เจอะ วันนั้นจะโชคดีทั้งวันเลย เพื่อน ๆ ละ เคยเห็นเจ้านกชนิดนี้บ้างไหม ลองมองหาดูนะค่ะ พบแล้วก็มาบอกเล่าเก้าสิบกันบ้างล่ะ


วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นกแซงแซวหางปลา (Black Drongo)

นกแซงแซวหางปลา (Black Drongo)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dicrurus macrocercus

อยู่ในวงศ์นกแซงแซว พบในเมืองไทย 7 ชนิด

 สองภาพนี้ ถ่ายได้ที่ ปทุมธานี รังสิต คลอง4 สถานที่เป็นไร่นา

ลักษณะ นกแซงแซวหางปลา ทั้งตัวผู้ และตัวเมีย มีลักษณะเหมือนกัน ตาสีแดง ขนปกคลุมลำตัวสีดำ หางและปีกมีสีดำ ปลายหางเว้าลึก ขาสีดำ ขนาดประมาณ 28 เซนติเมตร

พฤติกรรม นกแซงแซวหางปลา ชอบเกาะตามที่โล่งเพื่อมองหาแมง เมื่อพบแมลงจะบินโฉบอย่างรวดเร็ว และชอบหากินอยู่ตามฝูงควายเพื่อคอยโฉบจับแมลงที่กระโดยออกจากหญ้า

การสืบพันธุ์ นกแซงแซวหางปลาจะผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายนถึงสิงหาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้สูง วางไข่ครั้งละ 3 - 4 ฟอง

สถานะภาพ นกแซงแซวหางปลาเป็นนกประจำถิ่น พบได้บ่อยมาก และบางส่วนอพยพมาในฤดูหนาว

พื้นที่อาศัย นกแซงแซวหางปลา จะอาศัยใน ไร่ สวน ทุ่งนา ทุ่งหญ้า บึง

แหล่งกระจายพันธุ์ ทุกภาคของประเทศไทย และพบในอิหร่าน อินเดีย จีน ไต้หวัน ชวา อินโดจีน





ภาพ 3 ภาพนี้ เป็นชุดที่ ถ่ายได้ที่พุทธมณฑล สาย 4 จังหวัด นครปฐม

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นกนางนวล ณ บางปู

วันศุกร์แบบนี้ อากาศเย็นสบาย แดดดี ใจมันร่ำร้องให้ออกไปท่องโลก จุดมุ่งหมายในวันนี้ ก็ไม่ใกล้ ไม่ไกล แค่ บางปู นี่เอง อยากไปถ่ายนกน้ำ นกนางนวล ที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติบางปู ถึงเวลาต้องออกไปแล้ว..... 
จุดแรกที่ถ่าย หลังจากลงจากรถ... กังหันลม แห่งพลังงาน

มองหาป้ายบอกทางเข้าสู่ทางเดินศึกษาธรรมชาติ

เข้าดูนิทรรศการ นกต่าง ๆ ที่พบในบางปู

ทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าโกงกาง ป่าชายเลน ณ บางปู


เมื่อมาถึง ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ที่บางปู เพื่อจะขอเข้าไปเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบางปู แต่ปรากฏว่า ทางเข้าปิด เลยต้องไปเข้าด้านหลังตามที่เจ้าหน้าที่บอก ระหว่างทางเดินเป็นต้นโกงกาง มีปูแสม มีปลาตีน หน้าตาตลก ๆ 


ปลาตีน มันว่ายน้ำ กระโดดน้ำ ตลกดีจัง...

ระหว่างทางเดินศึกษาธรรมชาติ ก็ยังมีนกน้ำมากมายในบึงใหญ่ แต่กล้องเราไม่สามารถถ่ายมาให้เห็นชัดเจนได้ จึงได้ถ่ายรวม ๆ มาให้ดู 

นกน้ำหน้าตาน่ารัก

นี่ก็อีก 3 ตัว 

อันนี้เป็นฝูง

หลังจากเดินดูนกในศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ก็พบกว่า นกน้ำเยอะมาก ในบึงใหญ่ แต่กล้องเราความสามารถน้อยนิด จึงได้แต่ฝากไว้ก่อน ไว้ต้องกลับมาอีกครั้ง... ไว้ไปถอยเลนส์เทเลมาก่อนนะ จะกลับมาใหม่....


จากนั้นจึงไปดูนกนางนวลที่สะพาน วันนี้ คนไม่เยอะ แต่นกเยอะ.... อากาศดี ไม่แดด ไม่ร้อนมาก ลมพัดเย็นดี จึงได้เก็บภาพมาฝากให้เพื่อน ๆ ดู...


วันนี้ นางแบบ นางแบบ ก็เตรียมพร้อม เข้าแถวพร้อมเรียกถ่ายแบบได้ทันที...

สาว ๆ สายตัวนี้ ต่าง โพสท่าทางให้ถ่าย...

ตัวแรก แสดงการบินสู่ท้องฟ้า

การแสดงแบบกลุ่มก็มี ท่าหยุดกลางอากาศ รับกากหมู....

พระเอก ขอโชว์เดี่ยว ท่านี้ พี่เท่ไหมน้อง.....

อันนี้ ผมแสดงการแยกร่าง..... ครับผม

กลุ่มนี้ แสดงการบินโฉบ กิน กากหมู....

โชว์นี้ คั้นเวลา โชว์ตลก...

โชว์นี้ แสดงการมองหากากหมู....

การแสดงสุดท้าย ปิดท้ายด้วยสุดหล่อ กางปีกบิน....

หลังแสดงโชว์จบ ก็กลับไปพักผ่อน....

เป็นอย่างไหร่กันบ้างค่ะ สำหรับการแสดงโชว์นกนางนวล ณ บางปู ของเราวันนี้ หากเพื่อน ๆ อยากดูอย่างใกล้ชิด หรือ เห็นพวกเราตัวเป็น ๆ ก็เชิญได้ที่ บางปู จ.สมุทรปราการ นะจ๊ะ พวกเรารอ.... (กากหมู) อยู่จ้า...

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เล่าเรื่องนกกางเขนบ้าน

เช้าวันพฤหัส อากาศวันนี้แจ่มใส อากาศเริ่มเย็น เพราะเข้าฤดูหนาวแล้ว ต้นเดือนพฤศจิกายนแบบนี้ ปกติ เราต้องเดินทางไปท่องเที่ยวทางภาคเหนือแล้ว แต่ด้วยยุคเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ (หมายถึงเงินในกระเป๋าของเราเอง) ทำให้ต้องงดเที่ยวแล้ว แต่จิตวิญญาณภายในตัว ก็ยังเรียกร้องอยากออกไปเที่ยวอยู่ดี

จากบทความก่อนที่เราเล่าเรื่อง การดูนก การเริ่มต้นสนใจดูนก ถ่ายภาพนกรอบบ้านของเรา ทำให้เริ่มคิดว่า ไม่ได้ไปเดินป่าผ่าดง ก็ไปเดินดูนก รอบ ๆ หมู่บ้านแล้วกัน จุดแรกที่สนใจ และเข้ามาสู่ความคิด คือ.... ท้ายหมู่บ้าน ที่อดีตเป็นป่ารก ๆ ปัจจุบัน ก็สร้างเป็นลานกิจกรรมหมู่บ้าน วันนี้แดดไม่ร้อนมาก อากาศเย็นสบายดี ถือโอกาสเดินชมนก ชมต้นไม้ ไปยังท้ายหมู่บ้าน เดินออกกำลังกายด้วย

ระหว่างทางเดินไปก็มีนกเขาชวา นกเขาใหญ่ นกกระจอก นกอีแพรดแถบอกดำ นกพิราบ และนกกินปลีตัวเล็ก ๆ แต่ยังไม่ใช่จุดมุ่งหมายของเรา เราจีงแค่ชมและเดินต่อไป จนถึงท้ายหมู่บ้าน ลานกิจกรรม ซึ่งหลังลานกิจกรรมไป มีต้นตะขบ มีลำธาร (แหล่งน้ำเล็ก ๆ เหม็นหน่อย ไหลไป ประมาณคูน้ำ แต่เรียกให้เท่ว่า ลำธารแล้วกัน)

แล้วฉันก็เห็นต้นไทรขนาดใหญ่ตรงบริเวณนั้น มีนกกางเขน 2 ตัว กำลังหาอาหารกัน และมีนกอีแพรดแถบอกดำอีก 1 ตัว จึงได้สังเกตุการณ์สุ่มดูสักพัก ก็พอสรุปได้ว่า....
ต้นไทร มีแอ่งน้ำ มีนกมาหากินมากมาย....

นกกางเขน 2 ตัว เป็นนกกางเขน ตัวผู้ และตัวเมีย จึงรีบตั้งกล้องถ่ายรูปมาให้ดู ให้เพื่อน ๆ ได้ชมกัน วันนี้ก็นับว่าเป็นวันแรก ครั้งแรกของฉันเหมือนกันที่เห็นความ แตกต่างของ นกกางเขนตัวผู้ และนกกางเขนตัวเมีย จากที่อ่านในหนังสือ อ่านในเวปบล็อกของพวกดูนก ทำให้ตื่นเต้นมากในการถ่ายรูป กระหน่ำถ่ายมาเสียเยอะ แต่ภาพก็ไม่ค่อยสวย มือสั่นบ้าง โฟกัสหลุดบ้าง เซ็งจริง ๆ แต่ขอโชว์รูป ให้เพื่อน ๆ ดู เสียหน่อยแล้วกันนะค่ะ

นกกางเขนบ้าน ตัวเมียเกาะอยู่บนยอดไม้ ตัวผู้หากินอยู่ด้านล่าง 

แสดงความเป็นใหญ่ เพศหญิงเราเป็นใหญ่กว่าเพศชาย อิอิ.....
สองตัว ผัวเมีย ขยันหากิน ตามแหล่งน้ำ

นกกางเขนบ้านตัวผู้ Oriental Magpie Robin
ทำเท่.....

นกกางเขนบ้านตัวเมีย Oriental Magpie Robin
ตาสวย....

นกกางเขนบ้านตัวเมีย Oriental Magpie Robin
ปกป้องรัง......
นกกางเขนบ้านตัวเมีย Oriental Magpie Robin

นกกางเขนบ้านตัวผู้ Oriental Magpie Robin

ซึ่งเท่าที่เฝ้าสังเกตุ นกกางเขนบ้านคู่นี้ เขาจะบินไปมาด้วยกัน หากินใกล้ ๆ กัน ค่อยดูแล ซึ่งกันและกัน ตัวผู้ขนจะสีดำสนิท ตัวเมียขนจะสีออกเทา ๆ พวกเขาเป็นนกที่น่ารัก ขยันหากิน ไม่ค่อยกลัวคน ขณะถ่ายมีเสียงโทรศัพท์ของฉันดังขึ้น ต้องรับสาย และคุยอยู่นานกว่า 5 นาที พอหันกลับมา พวกเขาก็ยังหากินอยู่ในระแวกเดิม บินหนีออกไปไม่ไกลมาก ทำให้ฉันสามารถกลับมาถ่ายรูปพวกเขาได้อีก

พยายามอยากจะถ่ายรูปคู่ของพวกเขาทั้งสองตัว แต่พวกเขาก็กระโดดกันไป กระโดดกันมา แต่ในที่สุดก็ได้ภาพคู่กัน ถึงจะไม่ใกล้กันนัก แต่ก็สามารถถ่ายภาพคู่มาให้ดูจนได้






แต่เห็นความรักของทั้งสองตัวแล้ว ทำให้เช้าวันนี้ เป็นวันดี และสดชื่น มีแรงกลับไปทำภาระกิจได้แล้ว และแดดเริ่มร้อนแรง จึงต้องบอกลาเจ้านกกางเขนบ้านตัวน้อยทั้งสองตัวนี้ ไปก่อนละนะ ไว้มีโอกาสฉันจะกลับมาใหม่ บอกลา แล้วจึงจากไป....

เป็นอย่างไรบ้างค่ะ การดูนก... เพียงคุณเปิดโอกาสของตัวคุณเองในการสังเกตุสิ่งเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเรา คุณก็จะเห็นแล้วว่า ความสุขอยู่แค่เนี่ย จริง ๆ

ปล. ขากลับเก็บรูปเจ้านกปรอดหน้านวลกำลังเก็บลูกไม้กินมาแถมท้ายให้อีกรูปหนึ่งค่ะ
นกปรอดหน้านวล Yellow-vented Bulbul

ที่เขาคาบอยู่ในปากก็น่าจะเป็นลูกมะขามนะค่ะเนี่ย.....

แล้วยังไงพบกันใหม่นะค่ะ .... แล้วไปเที่ยวไหนก็อย่าลืมมองดูสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เรียกว่า... นก ด้วยนะค่ะ เพราะความสุขก็เป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่คุณอาจไม่มองก็ได้

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาดูนก ถ่ายนก รอบบ้านกันเถอะ

นก เป็นชื่อเรียกของสัตว์ปีกจำพวกหนึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีตั้งแต่ขนาดมินิไซด์จนกระทั่งไซด์ใหญ่เท่าตัวคน (นกกระจอกเทศไง ตัวใหญ่มาก)

การท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ การไปเดินป่าดูนก ในสมัยตอนเรียนมหาวิทยาลัยก็เคยไปท่องเที่ยวดูนกกับชมรมดูนกม.เกษตร ตอนนั้นเอาสนุก ตื่นเต้นเข้าว่า เดินป่า สนุกสนาน เห็นนกขมิ้น นกบังรอก นกแซงแซวหางบ่วง นกฮูกตาโต เป็นต้น ก็ตื่นเต้น สนุกสนาน ยังจดจำได้จนถึงทุกวันนี้ แต่หลังจากนั้น ก็เที่ยวเน้นแต่ผจญภัย ห่างหายกับการไปดูนก ชมธรรมชาติ เอาแต่จะพิชิตยอดเขา เดินป่า เที่ยวน้ำตก กระโดดผา มันส์อย่างเดียว ไม่สนใจอะไรเลย ไปได้ความมันส์ และความสนุกอย่างเดียว เป็นที่ตั้ง

จนวันหนึ่ง จากการเที่ยวผจญภัย ก็เริ่มสนใจการถ่ายภาพ เริ่มซื้อกล้องตัวแรกที่มีประสิทธิภาพดีหน่อย แต่ก็ยังเป็นแบบ compact อยู่ ซึ่งก็ประหยัดกว่าแบบฟิลม์ ทำให้เรากระหน่ำถ่ายรูป เที่ยวไปถ่ายรูปไป แต่ก็ยังเน้นถ่ายกิจกรรม ถ่ายเพื่อน ถ่ายตัวเอง ถ่ายวิว พอเริ่มถ่ายไปเยอะ ๆ เอารูปมาดู มาลง Facebook พูดคุยกับเพื่อน ๆ (ร่วมโลก Net) ก็ยิ่งสนุกกับการถ่าย ไปไหนมาไหนก็เอากล้องไป ถ่ายไป ถ่ายมา ก็ได้ถ่ายรูป นกตัวแรก แถวบ้านเราเอง ขณะนอนเล่นอยู่บนระเบียง ถ่ายได้แล้วก็เอาไปลง Facebook ซึ่งก็ไม่นาน มีผู้รู้เรื่องนกเข้ามาเขียนแนะนำว่า เป็น นกชนิดไหน ชื่ออะไร เราก็เลยเริ่มสนใจ นั่งเฝ้า ถ่ายรูปนกแต่ละตัวแถวบ้านมาลงจน ก็ชักเริ่มสนุก และสนใจ อยากรู้ อยากเห็น สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เรียกว่า นก เสียแล้ว ....

ดูนก ถ่ายรูป นก แล้วได้ อะไร .....

สำหรับเรา ความรู้สึกมันสดชื่น ตื่นตัว กระตื้อรื้อร้น ได้สัมผัสกับธรรมชาติ เป็นคนช่างสังเกตุมากขึ้น รับฟังมากขึ้น เหงยหน้ามองท้องฟ้ามากขึ้น เห็นสีฟ้า สีเขียว สีสรรต่าง ๆ ของธรรมชาติมากขึ้น เป็นความรู้สึกที่อยากให้เพื่อน ๆ ได้รู้สึก และสัมผัส จึงเริ่มถ่ายรูปนก มาแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ความคิด จินตนาการ และความสุขเล็ก ๆ ที่มันอยู่รอบตัวเรา เราเอง หรือเพื่อน ๆ ก็สามารถมาสัมผัสกับมันได้ เพียงแค่เปิดรับ และสังเกตุ สิ่งรอบ ๆ ตัว ความสุข ความงาม อยู่ใกล้ ๆ เรานี่เอง

ตอนนี้ ณ วันนี้ ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ สำหรับการเริ่มต้น ดูนก ถ่ายรูปนก ซึ่งเป็นสิ่งที่พิศวง และมหัศจรรย์มากเลย ว่ารอบ ๆ ตัวเรา รอบ ๆ บ้านเรา มีนกหลากหลายชนิด อย่างไม่น่าเชื่อ จากเคยคิดว่า มีแต่นกกระจอก นกเขา นกพิราบ เรายังสามารถพบนกเหล่านี้ได้ รอบ ๆ ตัวเราอย่างมหัศจรรย์ ลองมาดูกันนะค่ะ ว่ามีนกอะไรกันบ้าง

นกปรอดหน้านวล ตัวเก่ง
Yellow-vented Bulbul
นกตีทอง จอมเก๊ก
Coppersmith Barbet
นกกางเขนบ้าน จอมซน
Oriental Magpie Robin
นกยางเปีย ตัวขาว
Little Egret
เจ้านกกระจอกบ้านน้อย ตัวอ้วน
Eurasian Tree Sparrow
นกกระติ๊ดขี้หมู นาน ๆ มาอวดโฉมเสียที
Scaly-breasted Munia
นกกินปลีคอสีน้ำตาล สีสด
Brown-throated Sunbird
นกเขาไฟ เดินดุ่ม
Red Collared Dove
นกปรอดสวน แก้มลาย
Streak-eared Bulbul
นกปรอดหัวโขน หัวตั้ง
Red-whiskered Bulbul
นกพิราบป่า เดินเล่น
Rock Pigeon 
นกเอี้ยงหงอน ตัวอ้วน
White-vented Myna
นกสีชมพูสวน ตัวเมีย ปุกปุย
Scarlet-backed Flowerpacker

นกอีแพรดแถบอกดำ สุดหล่อ
Pied Fantail
นกเขาชวา ตาสวย
Zebra Drove
นกเขาใหญ่ คู่รัก
Spotted Dove

นกเอี้ยงสาลิกา หน้าย่น
Common Myna
นกกินปลีคอสีน้ำตาล ตัวเมีย
Brown-throated Sunbird

เป็นอย่างไรกันบ้าง นี่แค่นกแถวบ้านนะค่ะ ยังมีหลากหลายชนิดขนาดนี้ แล้วที่ยังถ่ายไม่ได้อีกล่ะ เห็นแล้ว สนใจมาดูนก ถ่ายรูปนกด้วยกันไหมค่ะ

หากใครสนใจ อยากชวนกันไปถ่ายรูปนก ก็ติดต่อมาได้เลยนะค่ะ ไปด้วยกัน ไม่ไปไม่รู้นะ
by: Tusora@hotmail.com