วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หนึ่งภาพเล่าเรื่อง "ช่วยลูกนกตกรัง" ิBird Rescue

หนึ่งภาพเล่าเรื่อง "ช่วยลูกนกตกรัง" หรือ Bird Rescue.....

ภาพถ่ายจากงานสัมมนาเรื่อง การช่วยเหลือลูกนกตกรังเบื้องต้น จัดโดย สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย บรรยายโดย น.สพ. เบญจพล หล่อสัญญาลักษณ์

หนึ่งภาพเล่าเรื่อง จะขอสรุปให้เพื่อน ๆ ฟังเลยนะค่ะว่า.... หากเราพบ ลูกนกตกจากรัง เราควรต้องทำอย่างไร....

อันดับแรก... เมื่อเราได้พบ ลูกนกพลัดหลงมา หรือตกลงมาจากรัง หรือชนกระจก ก็ตาม.... ให้สังเกตุก่อนว่า ลูกนก มีบาดแผลหรือไม่ ปีกหัก ขาหัก หรือไม่ หากมีบาดแผล ปีกหัก ขาหัก ควรนำไปพบ สัตวแพทย์ทันที เพื่อจะได้รักษาได้ทัน โดย ให้หากล่อง หรือถ้วย รองด้วย กระดาษทิชชู่ แล้วเอาลูกนกใส่ลงไป ปิดปากกล่อง เพื่อให้มืด นกจะได้ไม่เครียด และอยู่นิ่ง ๆ แต่อย่าลืมเจาะรู หรือมีรูให้นกหายใจได้ด้วยนะค่ะ

อันดับที่สอง... หากลูกนกที่พบ ไม่มีบาดแผล หรืออาการบาดเจ็บใด ๆ หากเราสามารถนำกลับไปวางที่รังได้ ก็ให้นำกลับไปวางที่รัง แต่ถ้าไม่ได้ ให้นำขึ้นไปวางที่สูง ๆ ที่สุด ใกล้ ๆ รัง แล้วลองเฝ้ามองดูสัก 1 -2 ชั่วโมง ว่ามีแม่นก พ่อนก มารับกลับไปหรือไม่ ซึ่งลูกนกจะร้องเรียก พ่อแม่ ให้พากลับได้จนได้ค่ะ... ถ้าเรารอแล้ว ไม่ปรากฏพ่อแม่นกมาบินวนเวียนเลย แม้ลูกนกจะร้องเรียกเพียงใด เราก็ทำใจเก็บมันกลับมาเถอะค่ะ...เอาใส่กล่องที่รองด้วยกระดาษทิชชู่ หรือผ้ารอง สำลี หรือกระดาษตัดเป็นชิ้นยาว ๆ เหมือนที่ใช้ที่ย่อยกระดาษ คราวนี้ก็มี 2 ทางเลือก คือ นำไปส่งสถานที่รับเลี้ยงดูแลนก ซึ่งในประเทศไทยหาได้ยากมาก มีที่ ม.เกษตรกำแพงแสน คณะสัตว์แพทย์ค่ะ ซึ่ง ก็มีนกที่ต้องดูแลเยอะมากแล้ว ยังขาดแคลนเงินทุน เงินช่วยเหลืออีกเยอะ....
ส่วนทางเลือกที่ 2 คือ เรารับเป็นพ่อแม่บุญธรรม เลี้ยงดูมัน จนสามารถนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติค่ะ ซึ่งหากเลือกวิธีนี้แล้ว เราก็ต้องหาความรู้กันนิด โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Facebook ติดต่อสอบถามคนที่รู้ ผู้รู้ หรือสอบถามมาที่ https://www.facebook.com/Benwildlifevet  หรือ https://www.facebook.com/bcst.or.th

โดยเราต้องทำดังนี้

1. ดูว่า นกนี้ เป็นนกอะไร เพื่อจะได้ เลือกป้อนอาหารที่ถูกต้องตามความต้องการของชนิดนก

2. ชั่ง น.น. นก เพื่อดูว่าในแต่ละมื้อ ควรป้อนอาหารปริมาณเท่าใด สูตรง่าย ๆ คือ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว เช่น หนัก 50 กรัม ให้ป้อน 5 มิลลิลิตร ต่อมื้อ และต้องทำการศึกษาวิธีการป้อนอาหารลูกนกด้วย (ถามได้จากผู้รู้ หรือหาข้อมูลในเน็ต) ซึ่งการป้อนลูกนกนั้น นกแต่ละชนิด มีวิธีการป้อนต่างกัน วัยที่ต่างกัน ก็ให้อาหารหรือป้อนต่างกันด้วย ต้องศึกษาเยอะอยู่ แต่พอได้ทำแล้ว มันไม่ยากนะค่ะ เพียงได้มีโอกาศเท่านั้น ทั้งนี้ สามารถปรึกษา กับคุณหมอเบญ ได้ที่ https://www.facebook.com/Benwildlifevet

3. ทำ รัง หรือ กล่องที่พักชั่วคราว ให้ลูกนก จนกว่า ลูกนกจะ สามารถ โผบินได้ เราก็ค่อยเอาออกจากกล่อง

4. และเมื่อได้รู้แล้วว่าเป็นนกชนิดไหน ต้องเรียนรู้ พฤติกรรมของมันด้วย เพื่อจะได้ฝึกให้ ลูกนก สามารถช่วยเหลือตัวเอง หากินได้เอง เพื่อจะส่งคืนสู่ธรรมชาติค่ะ

ซึ่ง ทั้งนี้ เพื่อน ๆ อาจจะยังสงสัย ยังไม่แน่ใจ หรือ กลัวว่า จะช่วยลูกนกได้หรือไม่ แนะนำ ให้ติดต่อกลุ่มที่สามารถให้ความช่วยเหลือ หรือคำปรึกษาได้ สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย www.bcst.or.th ผ่าน กระดานข่าว หรือโทร.0-2691-4816

ท้ายนี้ หากเพื่อน ๆ มีความประสงค์จะเข้าร่วมเป็น อาสาสมัคร ในการช่วยเหลือ ดูแลนก สามารถติดต่อกับสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย และเพิ่มเติมความรู้ด้วยการเข้าฟังสัมมนา ร่วมกิจกรรม และหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองได้ตลอดเวลาค่ะ...

ไม่มีความคิดเห็น: